วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

7.ทีมหนองบัวลำภู

ทีมหนองบัวลำภู เอฟซี ก่อตั้งจากการร่วมมือของคนในจังหวัดหนองบัวลำภูที่หวังจะสร้างทีมของจังหวัดหนองบัวลำภูขึ้น โดยใช้นักเตะในแถบภาคอีสานที่มีฝีเท้าดีและสมัครใจเข้ามาร่วมทีมอย่างจริงจังและอยากร่วมทีมกับหนองบัวลำภู เอฟซี ด้วยใจ ดังนั้นทีมหนองบัวลำภูจึงส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในฤดูกาล 2553 เป็นปีแรก โดยมีกุนซือคอยควบคุมทีมคือ สุทิน ศรีทอง อดีตผู้เล่นทีมชาติไทยอาวุโส และ สมภพ สุขสมบัติ โค้ชประสบการณ์สูง ผู้เล่นทีมชาติไทย ผู้สอนทีมชาติไทยและผู้เล่นราชประชาในอดีตร่วมกับผู้ช่วยอย่าง วิชัย เขียนโจม และ เสกสรร ศรีบุญเรือง โดยที่เป้าหมายการเข้าร่วมแข่งขัน ทุกทีมย่อมที่จะต้องมองไปข้างหน้า ด้วยการสร้างผลงานออกมาให้ดีที่สุด [

6.พัทยา ยูไนเต็ด

ก่อตั้งโดยนายพันธ์ศักดิ์ เกตุวัตถา อดีตนักฟุตบอลซึ่งเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลตำบลบางพระในขณะนั้น ได้ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. ในนามทีมสโมสรสุขาภิบาลตำบลบางพระในปี พ.ศ. 2530 และได้แข่งขันจนสามารถเลื่อนขึ้นมาเล่นในระดับ ประเภท ค. และประเภท ข. ตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลมีนโยบายยกฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศให้เป็นเทศบาล ทีมสุขาภิบาลตำบลบางพระ จึงเปลี่ยนชื่อทีมเป็นทีมสโมสรฟุตบอลเทศบาลตำบลบางพระตามการยกระดับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับตั้งแต่นั้นมา
ปี พ.ศ. 2544 สโมสรฟุตบอลเทศบาลตำบลบางพระ คว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. ได้สำเร็จ พร้อมกับได้ก้าวขึ้นมาเล่นในลีกดิวิชั?่น 1 ของเมืองไทย ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทีมอย่างจริงจัง โดยมี วิทยา คุณปลื้ม อดีต ส.ส. ชลบุรี และสนธยา คุณปลื้ม อดีต รมต.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เข้ามาให้การสนับสนุนทีม โดยสโมสรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในช่วงที่พันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถาได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบางพระ เพราะนอกจากจะสามารถจัดสรรงบประมาณในการพัฒนากีฬาได้แล้ว นักฟุตบอลของทีมยังมีความมั่นคงด้านการสร้างฐานะ เนื่องจากนักฟุตบอลบางส่วนจะได้รับการบรรจุให้เป็นเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจึงเป็นเครื่องการันตีได้ว่าเมื่อเลิกเล่นฟุตบอลแล้วยังมีงานราชการรองรับ ต่อมาเครื่องดื่มโค้กได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลโค้ก-เทศบาลตำบลบางพระ เพื่อลงเล่นในดิวิชั่น 1 และประสบความสำเร็จเมื่อฤดูกาล 2550 ทีมจบฤดูกาลด้วยตำแหน่งรองแชมป์ของสาย A และได้อันดับ 3 ในรอบสุดท้าย จึงได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลต่อมา
ฤดูกาล 2551 สโมสรฟุตบอลโค้ก-เทศบาลตำบลบางพระ ได้เล่นในลีกสูงสุดเป็นฤดูกาลแรก และจบฤดูกาลด้วยอันดับ 11 อย่างเหนือความคาดหมาย


5.สโมสรฟุตบอลจังหวัดพัทลุง

สโมสรฟุตบอลพัทลุง เอฟซี เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนธันวาคม ปลายปี 2552 โดยมี นางนาที รัชกิจประการ เลขานุการประธานรัฐสภา เป็นประธานสโมสรหญิงอีกคนหนึ่งของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] คุณนาทีเริ่มการจัดตั้งสโมสร โดยสมาชิกแฟนคลับชาวพัทลุง ที่รักฟุตบอลและเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพที่นำชื่อเสียงมาสู่จังหวัดบ้านเกิด นั่นคือที่มาของการเริ่มต้นส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค (ภาคใต้) 2010 สโมสรฟุตบอลพัทลุง เอฟซี ได้มีพิธีเปิดสโมสรอย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ ที่ 30 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา โดยถือเป็นสโมสรภาคใต้ทีมแรกที่ได้ถ่ายทอดสดทั่วประเทศผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง NBT สทท. ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากพี่น้องชาวจังหวัดพัทลุงทั้งในพื้นที่และอยู่ทั่วทั้งประเทศ โดยในวันเปิดตัว ได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ เป็นผู้เปิดงาน และ สโมสรอินทรีเพื่อนตำรวจ ร่วมแข่งขันนัดเปิดสนาม ซึ่งทั้งสองทีมเล่นได้ประทับใจผู้เข้าชมทุกท่านในวันนั้น ผลคือทีมเจ้าบ้านแพ้ไป 2 - 4 [1]

4.สโมสรฟุตบอลจังหวัดระยอง

ดระยสโมสรฟุตบอลจังหวัอง เริ่มก่อตั้งและส่งทีมเข้าแข่งขันครั้งแรกแรกในปี 2552 ในนามของสมาคมกีฬาจังหวัดระยอง และทำผลงานโดยการคว้าอันดับ 6 ของตารางในโซนภาคกลางและตะวันออก ต่อมาในปี 2553 ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนามของทีมระยอง เอฟซี โดย มี ส.จ. เดชา บุญธรรม เป็นผู้จัดการทีม แลได้เฮดโค้ชมากฝีมืออย่าง "โค้ชโม" อภิชาต โมสิกะ เข้ามารับหน้าที่เป็นกุนซือของทีม โดยงบประมาณในการทำทีมระยอง เอฟซี มีประมาณ 3 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจาก อบจ. จังหวัดระยอง และทีมงานผู้บริหารทีม โรงงานยูบี ส่วนชุดแข่งขัน และชุดฝึกซ้อมได้รับการสนับสนุนจาก เอฟบีที เป็นจำนวนเงินประมาณ 1 ล้านบาท
การแข่งขันฟุตบอลเอไอเอส ลีกภูมิภาค ปี2558 สโมสรฟุตบอลจังหวัดระยอง(Rayong FC) จากการทำทีมของ "โค้ชชู" ชูศักดิ์ ศรีภูมิ (Mr.Champions league) สามารถสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่ทีมระยอง เอฟซี คือ
    
    • ระยอง เอฟซี ครองแชมป์โซนภาคกลางตะวันออกได้เป็นครั้งแรก 
    
    • ระยอง เอฟซี เป็นทีมแรกของประเทศที่ได้เข้าสู่รอบแชมป์เปี้ยนลีก ทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันถึง 5นัด

3.สโมสรฟุตบอลชลบุรี

ทีมสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี แต่เดิมเป็น ทีมสโมสรฟุตบอลของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และได้เข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลสโมรสรชิงถ้วยพระราชทาน ต่อมาได้ถูกรวมเข้ากับทีม สโมสรสันนิบาตสมุทรปราการ โดยใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ได้เข้าแข่งขันใน ดิวิชัน 1
ต่อมาได้ย้ายไปเล่นใน โปรวินเชียลลีก ในชื่อ สโมรสรฟุตบอลชลบุรี และได้แยกทีม สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ซึ่งเล่นในดิวิชัน 1 อยู่ โดยทีมสโมสรชลบุรีนั้นได้นำผู้เล่นจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี และได้ชนะเลิศโปรลีกในปี 2548 และได้เลื่อนมาเล่นใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในปี 2549
ในปี 2549 ทีมชลบุรี ร่วมลงแข่งขันฟุตบอลควีนส์คัพ ในนามของ สโมสรราชประชา และเข้าร่วมแข่ง สิงคโปร์คัพ และได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้อันดับสอง รองจาก สโมสรฟุตบอลทัมปิเนสโรเวอร์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

2.สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส

สโมสรบางกอกกล๊าสเริ่มต้นในช่วงก่อตั้งโรงงานบางกอกกล๊าส ในปี พ.ศ. 2522 โดยเป็นการรวมตัวกันเพื่อแข่งขันเป็นการภายในของพนักงาน และต่อมาจึงได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันภายนอก ในช่วงปี พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นการแข่งขันกันในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดปทุมธานี จนเริ่มเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป
ปี พ.ศ. 2542 พนักงานและกลุ่มผู้บริหารได้รวมตัวกันจัดตั้งชมรมฟุตบอลอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา และเมื่อชมรมมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งด้านอุปกรณ์ และสนาม จีงมีก่อตั้งสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสขึ้นในเดือน เมษายน พ.ศ. 2549 และเปิดคัดนักกีฬาในเดือนต่อมา โดยได้เข้าเป็นสมาชิกของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในปีดังกล่าว
การแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกของสโมสรคือการเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง 2550/51 ซึ่งสโมสรประสบความสำเร็จเมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ โดยในนัดชิงชนะเลิศแพ้สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองคูคตไป 1-0 และได้สิทธิเลื่อนชั้นไปเล่นในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค.ในปีต่อมา
ปี พ.ศ. 2551 สโมสรได้จัดตั้งบริษัท BGFC SPORT จำกัดขึ้น เพื่อดำเนินการบริหารสโมสรและให้เป็นไปตามแนวทางที่เอเอฟซีกำหนด และลงแข่งขันในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค 2551/52 สามารถผ่านเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ โดยในรอบชิงชนะเลิศแพ้สโมสรฟุตบอลเจดับบลิว กรุ๊ป ไป 1-2 คว้าสิทธิเลื่อนชั้นไปเล่นในถ้วย ข. นอกจากนี้ทีมบางกอกกล๊าสยังมีทีมฟุตซอลของตัวเอง ซึ่งลงแข่งในฟุตซอลไทยแลนด์ลีกอีกด้วย

1. ทีมฟุตบอลไทย

ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ในนามคณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม และเล่นการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก (พบกับทีมฝ่ายยุโรป) ที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20 ธันวาคม ในปีนั้น จนวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ โดยลงเล่นในการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2482 เมื่อสยามกลายเป็นประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956ที่เมลเบิร์น โดยเป็นครั้งแรกของทางทีมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยจับฉลากพบกับสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 0-9 (ความพ่ายแพ้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์) ตกรอบในที่สุด โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ 1 โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และสหภาพโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[2] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ หนึ่งในนักฟุตบอลชุดโอลิมปิกไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนี เพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ฟุตบอลทีมชาติไทยก็คว้าเหรียญทองในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเรียกว่าซีเกมส์) ครั้งที่ 3 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จนถึง พ.ศ. 2552 ประเทศไทยชนะเลิศการแข่งขันทุก ๆ สองปีรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง